วัดจันทร์ประดิษฐาราม ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๒๗ หมู่ ๒ ถนนเพชรเกษม ซอย ๔๘ แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีที่ดินเดิมทั้งหมด ๕๒ ไร่ ๓ งาน ๗๒ ตารางวา ติดคลองบางจาก แบ่งเป็น ๓ แปลง
แปลงที่ ๑ ตั้งอยู่ติดกับคลองบางจากฝั่งเหนือ มีเนื้อที่ ๒๓ ไร่ ๔๔ ตารางวา
โฉนดเลขที่๗๓๒
แปลงที่ ๒ ตั้งอยู่ติดกับคลองบางจากฝั่งใต้ มีเนื้อที่ ๒๒ ไร่ ๓ งาน
โฉนดเลขที่ ๔๔๕๙๓
แปลงที่ ๓ ตั้งอยู่ติดกับคลองบางจากฝั่งเหนือ มีเนื้อที่ ๗ ไร่ ๗ ตารางวา
โฉนดเลขที่ ๕๘๖๗๒
ปัจจุบัน ที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๔ ไร่ ๗ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๗๓๒ และเลขที่ ๕๘๖๗๒
ที่ธรณีสงฆ์ มี ๔๒ ไร่ ๔๕ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๗๓๒, ๒๙๖๑, ๒๑๑๑๘, ๒๑๑๑๙, ๒๑๑๒๐, ๒๑๑๒๑, ๒๕๕๒๕, ๒๗๕๐๒, ๒๘๗๗๔, ๒๘๗๗๕, ๔๔๕๙๓
วัดจันทร์ประดิษฐาราม สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๓๗๑ ตามประวัติของวัดทราบแต่เพียงว่า เมื่อราวรัตนโกสินทร์ศก ที่ ๓๗ ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี ได้มีนายจันปะขาว คฤหบดีผู้มั่งคั่ง ได้มอบที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนให้เป็นสมบัติของวัดจำนวน ๒ โฉนด ซึ่งมีที่ดินทั้งสิ้น ๕๒ ไร่ ๓ งาน ๗๒ ตารางวา ให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่วัดนี้ โดยมีโฉนดออกให้เป็นหลักฐานเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๓ นายจันปะขาว เมื่อมอบที่ดินให้แก่วัดแล้วก็ได้นุ่งขาวห่มขาวจำศีลภาวนา อยู่ในวัดนี้จนตลอดชีวิต จึงเป็นสาเหตุให้สร้างวัดและตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดจันปะขาว” ต่อมาประชาชนมักเรียกชื่อเพี้ยนไปหลายชื่อ เช่น วัดชีปะขาว วัดจันตาปะขาว เป็นต้น จนกระทั่งเป็นเหตุให้หน่วยราชการหลายแห่งเรียกชื่อวัดไม่เหมือนกัน
ต่อมาเมื่อ วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๐๑ ทางวัดจึงได้ทำเรื่องเสนอต่อทางการคณะสงฆ์ขอเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่เป็น “วัดจันทร์ประดิษฐาราม” ซึ่งปรากฏตามแถลงการณ์คณะสงฆ์เล่มที่ ๔๖ หน้า ๒๓๕๑ ประจำปี ๒๕๐๑
วัดจันทร์ประดิษฐาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๐ ต่อมาได้ถอนวิสุงคามสีมาเดิม และได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ขนาดกว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ตามปรกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๑๒๒ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๖
การบริหารและการปกครอง
ปัจจุบัน เจ้าอาวาส ชื่อ พระครูปลัดไชยวุฒิ อาภานนฺโท (กระถินทอง) อายุ ๔๔ ปี พรรษา ๒๐
ลำดับที่ ๑. ไม่ทราบ
ลำดับที่ ๒. ไม่ทราบ
ลำดับที่ ๓. ไม่ทราบ
ลำดับที่ ๔. สมภารสะอาด พ.ศ. ๒๔๒๐ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๒
ลำดับที่ ๕. สมภารเล็ก พ.ศ. ๒๔๓๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๐
ลำดับที่ ๖. สมภารปลั่ง พ.ศ. ๒๔๕๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๕
ลำดับที่ ๗. สมภารปิ่น พ.ศ. ๒๔๗๐ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๙
ลำดับที่ ๘. สมภารเส็ง (พระครูเส็ง) พ.ศ. ๒๔๘๔ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๓
ลำดับที่ ๙. สมภารสมทรง พ.ศ. ๒๔๙๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๒
ลำดับที่ ๑๐. พระครูประโชติวรคุณ พ.ศ. ๒๕๐๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๔
ลำดับที่ ๑๑. พระครูใบฎีกาเที้ยน ปิยธมฺโม พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๘
ลำดับที่ ๑๒. พระครูปลัดไชยวุฒิ อาภานนฺโท พ.ศ. ๒๕๔๙ ถึง ปัจจุบัน
แปลงที่ ๑ ตั้งอยู่ติดกับคลองบางจากฝั่งเหนือ มีเนื้อที่ ๒๓ ไร่ ๔๔ ตารางวา
โฉนดเลขที่๗๓๒
แปลงที่ ๒ ตั้งอยู่ติดกับคลองบางจากฝั่งใต้ มีเนื้อที่ ๒๒ ไร่ ๓ งาน
โฉนดเลขที่ ๔๔๕๙๓
แปลงที่ ๓ ตั้งอยู่ติดกับคลองบางจากฝั่งเหนือ มีเนื้อที่ ๗ ไร่ ๗ ตารางวา
โฉนดเลขที่ ๕๘๖๗๒
ปัจจุบัน ที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๔ ไร่ ๗ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๗๓๒ และเลขที่ ๕๘๖๗๒
ที่ธรณีสงฆ์ มี ๔๒ ไร่ ๔๕ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๗๓๒, ๒๙๖๑, ๒๑๑๑๘, ๒๑๑๑๙, ๒๑๑๒๐, ๒๑๑๒๑, ๒๕๕๒๕, ๒๗๕๐๒, ๒๘๗๗๔, ๒๘๗๗๕, ๔๔๕๙๓
วัดจันทร์ประดิษฐาราม สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๓๗๑ ตามประวัติของวัดทราบแต่เพียงว่า เมื่อราวรัตนโกสินทร์ศก ที่ ๓๗ ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี ได้มีนายจันปะขาว คฤหบดีผู้มั่งคั่ง ได้มอบที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนให้เป็นสมบัติของวัดจำนวน ๒ โฉนด ซึ่งมีที่ดินทั้งสิ้น ๕๒ ไร่ ๓ งาน ๗๒ ตารางวา ให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่วัดนี้ โดยมีโฉนดออกให้เป็นหลักฐานเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๓ นายจันปะขาว เมื่อมอบที่ดินให้แก่วัดแล้วก็ได้นุ่งขาวห่มขาวจำศีลภาวนา อยู่ในวัดนี้จนตลอดชีวิต จึงเป็นสาเหตุให้สร้างวัดและตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดจันปะขาว” ต่อมาประชาชนมักเรียกชื่อเพี้ยนไปหลายชื่อ เช่น วัดชีปะขาว วัดจันตาปะขาว เป็นต้น จนกระทั่งเป็นเหตุให้หน่วยราชการหลายแห่งเรียกชื่อวัดไม่เหมือนกัน
ต่อมาเมื่อ วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๐๑ ทางวัดจึงได้ทำเรื่องเสนอต่อทางการคณะสงฆ์ขอเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่เป็น “วัดจันทร์ประดิษฐาราม” ซึ่งปรากฏตามแถลงการณ์คณะสงฆ์เล่มที่ ๔๖ หน้า ๒๓๕๑ ประจำปี ๒๕๐๑
วัดจันทร์ประดิษฐาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๐ ต่อมาได้ถอนวิสุงคามสีมาเดิม และได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ขนาดกว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ตามปรกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๑๒๒ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๖
การบริหารและการปกครอง
ปัจจุบัน เจ้าอาวาส ชื่อ พระครูปลัดไชยวุฒิ อาภานนฺโท (กระถินทอง) อายุ ๔๔ ปี พรรษา ๒๐
ลำดับที่ ๑. ไม่ทราบ
ลำดับที่ ๒. ไม่ทราบ
ลำดับที่ ๓. ไม่ทราบ
ลำดับที่ ๔. สมภารสะอาด พ.ศ. ๒๔๒๐ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๒
ลำดับที่ ๕. สมภารเล็ก พ.ศ. ๒๔๓๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๐
ลำดับที่ ๖. สมภารปลั่ง พ.ศ. ๒๔๕๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๕
ลำดับที่ ๗. สมภารปิ่น พ.ศ. ๒๔๗๐ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๙
ลำดับที่ ๘. สมภารเส็ง (พระครูเส็ง) พ.ศ. ๒๔๘๔ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๓
ลำดับที่ ๙. สมภารสมทรง พ.ศ. ๒๔๙๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๒
ลำดับที่ ๑๐. พระครูประโชติวรคุณ พ.ศ. ๒๕๐๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๔
ลำดับที่ ๑๑. พระครูใบฎีกาเที้ยน ปิยธมฺโม พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๘
ลำดับที่ ๑๒. พระครูปลัดไชยวุฒิ อาภานนฺโท พ.ศ. ๒๕๔๙ ถึง ปัจจุบัน
สังกัดเจ้าคณะการปกครองฝ่ายสงฆ์จังหวัด มหานิกาย (กรุงเทพมหานคร)
นามเจ้าคณะจังหวัด พระเทพสิทธิเมธี วัดจันทาราม แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี
นามเจ้าคณะเขต พระราชรัตนโสภณ วัดบุณยประดิษฐ์ แขวงบางแค เขตบางแค
นามเจ้าคณะแขวง พระครูสุนทรพิพัฒนโกศล วัดศาลาแดง แขวงบางแค เขตบางแค
ปัจจุบันมีพระภิกษุจำพรรษา ๘๑ รูป สามเณร ๑ รูป
ปูชนียวัตถุที่สำคัญคือ
๑. อุโบสถหลังใหม่ ขนาดกว้าง ๑๕.๙๐ เมตร ยาว ๔๑.๑๐ เมตร พื้น ๒ ชั้น ๙ ห้อง มีเสาหาร เป็นมุขเด็จทั้ง ๒ ด้าน พระประธานในอุโบสถเป็นพระปางพุทธชินราช ขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ สูงถึงเกศ ๗ ศอก
๒. วิหารหลวงพ่อขาว เป็นโบราณสถานเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของวัดจันทร์ฯ สร้างประมาณปี๑. อุโบสถหลังใหม่ ขนาดกว้าง ๑๕.๙๐ เมตร ยาว ๔๑.๑๐ เมตร พื้น ๒ ชั้น ๙ ห้อง มีเสาหาร เป็นมุขเด็จทั้ง ๒ ด้าน พระประธานในอุโบสถเป็นพระปางพุทธชินราช ขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ สูงถึงเกศ ๗ ศอก
พ.ศ. ๒๓๗๙ มีพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ปางต่างๆ ไม่น้อยกว่า ๑๔๐ องค์ ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ ๘๕ องค์ มีทั้งสร้างด้วยอิฐถือปูนและโลหะ ขนาดหน้าตักตั้งแต่ ๕ นิ้ว จนถึง ๗๐ นิ้ว
๓. หลวงพ่อขาว พระพุทธรูปองค์นี้เดิมอยู่วิหารร้างวัดอังกุลา ระหว่างคลองบางพรหม เขตตลิ่งชัน เป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยหินศิลาแลง มีพุทธลักษณะสวยงาม ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๖ นิ้ว สูง ๔๗ นิ้ว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ สามเณรทวี สมบัติพานิช พร้อมด้วยคณะพระภิกษุที่วัดจันปะขาว ได้ไปอาราธนามาจากวัดอังกุลา ซึ่งอยู่ระหว่างคลองบางพรหม เขตตลิ่งชัน ได้นำพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานในวิหารวัดจันปะขาว แล้วเมื่อถึงคราวเทศกาลสงกรานต์ พระสงฆ์และพุทธบริษัทได้นำออกมาสรงน้ำทุกปี และขณะสรงน้ำหลวงพ่อขาวนั้นมักเกิดอภินิหารต่าง ๆ อยู่เสมอ เช่น เกิดฝนตกทุกคราว ประชาชนเห็นเป็นสิ่งมหัศจรรย์ จึงพากันนำเครื่องสักการบูชา แล้วขอโชคลาภ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักได้ตามความประสงค์ จนกลายเป็นพระพุทธรูปที่มีประชาชนเคารพนับถือมากมาจนปัจจุบันนี้ ต่อมาประชาชนเห็นความสำคัญของหลวงพ่อขาว จึงต้องการให้เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญของวัดจันปะขาว จึงพากันเรียกชื่อใหม่ว่า หลวงพ่อขาวตามนามของวัด จนกระทั่งปัจจุบัน ก็มีประชาชนเคารพนับถือมากก็มักมีผู้ขอเสี่ยงโชคลาภ ซึ่งบางคนก็ถูกรางวัลลอตเตอรี่ มากบ้าง น้อยบ้าง บางท่านก็บนด้วยประทัดจนกลายเป็นประเพณีจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น